Saturday, March 30, 2013

ศิลปะไทย ยังร่วมสมัยนะครับ


  วันนี้ blog เกี่ยวกับกาวขอพูดถึงศิลปะกันบ้าง โดยเฉพาะข่าวคราว ศิลปะไทย ที่มักเข้าใจกันผิดๆว่าเชยและไม่ร่วมสมัยเอาซะเลย เราจึงขอนำบทความดีๆ จาก เวบ samforkner.org มาให้ได้อ่านกันก่อน

เมื่อพูดถึงศิลปไทยเรา   ก็มักนึกถึงวัดวาอาราม
เจดีย์ หรือไม่ก็เครื่องประดับมุก   เครื่องถ้วยเบญจรงค์
หรือ   ไม่ก็นึกไปถึงโบราณสถานแถวอยุธยา   สุโขทัย
ศรีสัชนาลัย   ฯลฯ   แท้จริงแล้วศิลปไทยหลายประเภทก็
ไม่ได้ไกลไปจากวัดมากนัก   เพราะวัดเป็นแหล่งรวมของ
งานช่างประเภทต่างๆ   เช่น   ช่างแกะ   ช่างปั้น   ช่างเขียน
ฯลฯ   เนื่องจากคนสมัยก่อนจะนิยมสร้างศิลปเพื่ออุทิศให้
ศาสนา   งานศิลปไทยจึงมีให้เห็นตามวัดวาต่างๆมากมาย
      พอมาถึงคำว่า   “ร่วมสมัย”   เราก็คงนึกถึงคำว่า
“อินเทรนด์”   หรือ   “เด็กแนว”   ที่เข้ามาแทนคำว่า
“มะกัน”   ที่เราใช้กันเมื่อ 15   ปีก่อน   ซึ่งจริงๆ   แล้ว
ความเข้าใจเช่นนี้ก็ไม่ผิดเสียทีเดียว   และเมื่อ   คำ 2
คำนี้มารวมกัน   แล้วหลายคนก็จะนึกภาพเป็นคล้ายกับว่า
คือศิลปสมัยใหม่ที่มีลักษณะออกไทยๆ   มีสีแดง   สีทอง
มีภาพเทวดา   ลายกนก   แทรกๆอยู่   ฯลฯ   หรือหาก
ทันสมัยสุดๆ   ก็เป็นประเภทศิลปแนวนามธรรม   ที่มีสีป้าย
ไปป้ายมา   เลอะๆ   มองไม่รู้เรื่องว่าเป็นรูปอะไร   แต่ก็มี
อารมณ์และความรู้สึกแบบไทยอยู่ในนั้น   และที่
สำคัญสร้างสรรค์โดยศิลปินไทย



พิชัย นิรันดร์ (Pichai Nirand), “เส้นทางธรรม” (The Great Truth of Way), ๒๕๒๒ (2522 BE or 1972 AD), 125 x 157 cm, Oil on canvas


      ซึ่งก็ถูกทั้ง   2   อย่าง   จะเขียนแนวประยุกต์ศิลปไทย
มาทำให้ดูทันสมัย   หรือแนวนามธรรมล้วนๆที่ไม่มีร่อย
รอยของกนกเหลืออยู่เลย   ย่อมมีวิญญานที่เป็นคนไทยอยู่
ในงานศิลปชิ้นนั้นๆอยู่ดี   เพราะศิลปินผู้สร้างศิลปนั้นล้วน
หล่อหลอมสภาพแวดล้อม   ค่านิยม   ความรู้สึกนึกคิด
บรรยากาศจากสังคมไทย   แม้ว่าจะสร้างศิลปร่วมสมัยของ
ไทยแนวไหน   ก็ย่อมมีความรู้สึกแบบไทยทั้งสิ้น



No comments:

Post a Comment